การเลือกใช้พลาสติกวิศวกรรม

การเลือกใช้พลาสติกวิศวกรรม

 

พลาสติก (Plastic) คือ สารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้แทนวัสดุธรรมชาติ ซึ่งพลาสติกทำมาจาก น้ำมันดิบ,ก๊าซธรรมชาติ ผ่านกรรมวิธีการผลิตเพื่อปรับปรุงโครงสร้างโมเลกุลจนได้เป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ ออกมา คำว่า พลาสติกวิศวกรรม (Plastic Engineering) นั้นจริงๆ แล้วหมายถึงกลุ่มของพลาสติกที่ผ่านกรรมวิธีการปรับแต่งโครงสร้างจนได้คุณสมบัติของพลาสติกที่เหมาะสมกับการนำมาใช้งานเชิงวิศวกรรม ไม่ว่าจะเป็น ความแข็งแรง ความเหนียว การทนต่อการกัดกร่อน ทนต่อการติดไฟ เป็นต้น

ชนิดของพลาสติกวิศวกรรม ที่มีใช้อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรม หลักๆ จะมีดังนี้

  • ไนลอน (Nylon) คือ พลาสติกวิศวกรรมชนิดหนึ่ง อาจรู้จักหรือเรียกกันในชื่อ Nylon 6 มีลักษณะทึบแสง และคุณสมบัติที่สำคัญ คือ มีความแข็งและเหนียว ไม่เสียรูปทรงง่าย ทนต่อการกัดกร่อนและการเสียดสี เหมาะสมกับการนำมาใช้งานประเภททำเฟือง ล้อ ลูกกลิ้ง หรือชิ้นงานที่ต้องรับแรงมากๆ

 

  • ปอม (POM - Polyoxymethylene) มีลักษณะทึบแสง คุณสมบัติสำคัญ คือมีค่า Tensile strength และ Stiffness ที่สูงมาก มีความแข็ง ลื่น มีสปริง ทนต่อการเสียดสี และยืดหยุ่นได้ดีในอุณหภูมิที่สูงและต่ำ ซึ่งเป็นปมเด่นของการคงสภาพรูปทรงที่ดี ไม่อมความชื้น และทนกระแสไฟฟ้าได้ นิยมใช้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า นอกจากนี้ปอมยังเหมาะกับการใช้งานแทนเหล็ก,งานเฟืองของเครื่องจักร, ชิ้นส่วนของเครื่องจักร เพื่อทำให้ชิ้นงานมีน้ำหนักเบา

 

  • PE 1000 (็HDPE - High Density Polythylene) คือ พลาสติกโพลีเอททิลีนที่มีความหนาแน่นของโมเลกุลสูงถึง 6,000,000 โมล/กรัม ทึบแสง มีสีขาวขุ่น ผิวลื่น คุณสมบัติที่ดีเด่นคือ เพราะความหนาแน่นที่สูงจึงทำให้มีความทนทานต่อการสึกหรอสูงมาก เหมาะกับงานที่ต้องการความทนทานต่อแรงกระแทกและเสียดสี นอกจากนี้แล้วยังคงทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมีด้วย

 

  • เทฟล่อน (Teflon - PTFE) คือ พลาสติกวิศวกรรมที่มีน้ำหนักโมเลกุล 9,000,000 กรัม/ลบ.ซม3 สามารถทนอุณหภูมิสูงสุด 260 ˚C ในขณะที่รองรับอุณหภูมิต่ำสุดที่ใช้ได้คือ – 290 ˚C เทฟล่อนเหมาะสมกับการใช้งานที่ต้องทนอุณหภูมิสูงๆ หรือใช้งานที่ต้องทนการกัดกร่อนของสารเคมี เช่น หน้าแปลน ซีลวาล์ว ซีลไฮดรอลิก ที่รับแรงดันสูงหรือมีความร้อน เป็นต้น

 

  • ซุปเปอร์ลีน (SUPERLENE NYLON) คือ พลาสติกวิศวกรรมตระกูลไนลอนชนิดหนึ่ง มีลักษณะทึบแสง มีสีขาวค่อนข้างใส คุณสมบัติที่สำคัญ คือ มีความแข็ง เหนียว ไม่เสียรูปทรงง่าย เหมาะสำหรับงานรับแรงมากๆ ทนต่อการกัดกร่อนและทนต่อการเสียดสีได้ดี แต่ข้อเสีย คือ ไม่ทนต่อสารเคมีที่เป็นกรดเข้มข้น

 

พลาสติกวิศวรรม มีจำหน่ายในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แผ่นเรียบ ก้อนสี่เหลี่ยม แท่งกลม เพลากลม เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถเลือกซื้อไปขึ้นรูปกับเครื่องจักรได้อย่างเหมาะสม

 

Visitors: 150,666